

ชุมชนบางลำพู
พื้นที่และวิถีของความหลากหลายทางวัฒนธรรม
แผนที่บางลำพู
สถานที่ตั้ง
-
บางลำพูมีบริเวณที่ตั้งอยู่ย่านบางลำพูเขตพระนครกรุงเทพมหานคร
อาณาเขตติดต่อ
-
ทิศเหนือติดต่อกับถนนพระสุเมรุ
-
ทิศใต้ติดต่อกับถนนข้าวสาร
-
ทิศตะวันออกติดต่อกับวัดบวรนิเวศวิหาร
-
ทิศตะวันตกติดต่อกับวัดชนะสงคราม

ชุมชนบางลำพู
บางลําพู เป็นชื่อย่านสําคัญในอดีต นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยปัจจุบัน มีทั้งตลาดสด และตลาดขายสินค้าอุปโภคบริโภคนานาชนิด และยังเรียกคลองรอบกรุงส่วนที่ผ่านบางลําพูนี้ว่า “คลองบางลําพู” อีกด้วย ชุมชนบางลำพูเป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาของพื้นที่ที่ยาวนาน มีความน่าสนใจทั้งในด้านความหลากหลายของเชื้อชาติ วัฒนธรรมภายในชุมชน การเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญทั้งในอดีตยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยและการปรับตัวของชุมชนทั้งในด้านวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน การเปลี่ยนแปลงของย่านการค้า ความเข้มแข็งของคนในชุมชนที่ทำให้ชุมชนบางลำพูกลายเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังไม่ได้ทิ้งเสน่ห์แห่งบางลำพูไป
การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจาก ย่านเก่าในกรุงเทพ (เล่มที่ 1) พบว่า ชุมชนบางลำพู ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ถนนพระอาทิตย์ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาลงไปจนถึงวัดบวรนิเวศ ส่วนอีกด้านหนึ่งนับจากถนนข้าวสารไปจนถึงวัดสามพระยา ศูนย์กลางของ ย่านบางลำพูจะอยู่แถวๆ ตึกห้างนิวเวิลด์เก่า
ตลาดบางลำพูในสมัยก่อนยังไม่ค่อยคึกคักเท่าใดนัก เป็นเพียงตลาดเล็กๆ ไม่ใหญ่โตเท่าตลาดเสาชิงช้าต่อมาเมื่อมีการตัดถนนในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้สร้างตลาดแบบทันสมัย สะอาด ถูกสุขลักษณะ ให้ชื่อว่า ตลาดยอดพิมาน ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า ตลาดยอด มีอาคารร้านค้าเกิดขึ้นโดยรอบตลาดมากมาย จำหน่ายสินค้านานาชนิด ตั้งแต่ดอกไม้ธูปเทียน เสื้อผ้าอาภรณ์ อาหารคาวหวาน ฯลฯ
บางลำพูในอดีตจึงเปรียบได้กับห้างสรรพสินค้าในสมัยนี้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งบันเทิงควบคู่ไปกับการจำหน่ายสินค้า เช่น โรงละคร โรงลิเก โรงภาพยนตร์
หลังจาก พ.ศ. 2394 ย่านบางลำพูก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตามริมคลอง อาศัยคลองบางลำพูเป็นเส้นทางคมนาคมค้าขายสินค้าทางเรือ
บางลำพูเป็นที่อยู่ของผู้คนหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน แขก มอญ เริ่มแรกจากชาวไทยที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมริมแม่นํ้าเจ้าพระยา แถบหลังวัดสังเวชฯ ทางด้านวัดชนะสงคราม มีชาวมอญจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆวัด สำหรับชาวจีนอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนชาวมุสลิมอาศัยอยู่ตรงตรอกสุเหร่า ชาวมุสลิมเหล่านี้เป็นช่างทองอพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ภายในหมู่บ้านมีสุเหร่าจักรพงษ์เป็นสถานที่ประชุม ทำศาสนกิจของชาวมุสลิม
หากในปัจจุบันชุมชนบางลำพูกลายเป็นชุมทางชาวต่างชาติที่แวะเวียนเข้ามาเที่ยวชมบนถนนข้าวสารหลายล้านคนต่อปี มีความหลากหลายของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ถูกนำเข้ามาจากบุคคลหลากเชื้อชาติ ชุมชนที่มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ร้านรวงต่างๆในย่านบางลำพูก็มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ดังนั้นกลุ่มของเราจึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เข้าใจความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ ชุมชนบางลำพู : พื้นที่ และวิถีของความหลากหลายทางวัฒนธรรม อย่างชัดเจนขึ้น

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญทางประวัติศาสตร์
บางลำพูเป็นชื่อย่านการค้าสำคัญในอดีตนับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยปัจจุบันมีทั้งตลาดสดและตลาดขายสินค้าอุปโภคบริโภคนานาชนิดและยังเรียกคลองรอบกรุงส่วนที่ผ่านบางลำพูนี้ว่า“คลองบางลำพู”อีกด้วย
บางลำพูชื่อนี้มีการถกเถียงถึงที่มานักภาษาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า“ลำพู”มาจากคำว่า“Su-ngaiLampu”เป็นภาษามลายูออกเสียงว่า“สุไหงลัมปู”แปลว่าคลองที่มีตะเกียงซึ่งหมายถึงกระโจมไฟให้สัญญาณการเดินทางทางน้ำในสมัยโบราณบางท่านว่าเป็นเพราะแถบนี้มีตัวหิ่งห้อยซึ่งเป็นแมลงที่มีแสงเรืองในตัวจำนวนนับพันตัวส่องแสงระยิบระยับราวกับตะเกียงด้วยเหตุที่สันนิษฐานดังนี้การเขียนชื่อ“บางลำพู”จึงเป็น“บางลำภู”อยู่ระยะหนึ่งจนถึงประมาณปีพ.ศ. 2550 มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่งร่วมกันจัดทำโครงการ“ถนนคนเดิน”ได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งประวัติศาสตร์ของชุมชนย่านบางลำพูจึงเกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับชื่อบางลำพูว่าชื่อนี้น่าจะมาจากต้นลำพูซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งชอบขึ้นตามริมน้ำป่าชายเลนที่มีน้ำกร่อยจนถึงน้ำจืดหรือบริเวณริมป่าที่ติดกับแม่น้ำลำคลองที่มีโคลนเลนและน้ำท่วมถึงซึ่งในสมัยโบราณเล่ากันว่าบริเวณนี้มีต้นลำพูขึ้นอยู่หนาแน่นกระจายไปจนถึงบริเวณสองฝั่งปากคลองรอบกรุงด้วยความหนาแน่นของต้นลำพูบริเวณนี้ทำให้เกิดอาชีพสำคัญคือการตัดรากของต้นลำพูเอาไปทำจุกปิดขวดยานัตถุ์ขวดยาธาตุพวกพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาตามลำนํ้าเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าคลองรอบกรุงจะใช้ดงลำพูนี้เป็นที่หมายว่าถึงปากคลองรอบกรุงแล้วในตอนกลางคืนแสงระยิบระยับจากหิ่งห้อยที่ชอบเกาะอยู่ที่ต้นลำพูก็เป็นที่หมายสำคัญว่าถึงคลองรอบกรุงแล้วจึงเรียกที่หมายนี้ตามลักษณะสำคัญของบริเวณว่า“บางลำพู”และ“คลองบางลำพู”สถานที่แห่งแรกที่แก้จากคำว่า“บางลำภู”มาเป็น“บางลำพู”คือที่ทำการไปรษณีย์บางลำพูถนนสิบสามห้างบางลำพูเคยมีต้นลำพูอยู่หนาแน่นมีหิ่งห้อยส่องแสงระยิบระยับเกาะอยู่ที่ต้นลำพูเป็นภาพอดีตครั้งสร้างกรุงเทพฯปัจจุบันต้นลำพูเหลือเพียงกลุ่มเดียวในสวนสันติชัยปราการแต่ชุมชนก็ยังมีความน่าสนใจตรงที่เป็นปากทางคลองรอบกรุงทั้งเป็นแหล่งรวมชาวไทยจีนมอญลาวเขมรมาแต่อดีตเป็นย่านการค้าขายที่ไม่เคยซบเซามาจนทุกวันนี้
ย่านบางลำพูครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ถนนพระอาทิตย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปจนถึงวัดบวรนิเวศส่วนอีกด้านหนึ่งนับจากถนนข้าวสารไปจนถึงวัดสามพระยาศูนย์กลางของย่านบางลำพูจะอยู่แถวๆตึกห้างนิวเวิลด์เก่า
ที่มาของชื่อบางลำพู
เนื่องจากบริเวณพื้นที่เป็นที่ลุ่มมีต้นลำพูขึ้นตามชายเลนน้ำท่วมถึงอยู่เป็นจำนวนมากลักษณะของต้นลำพูมีรากขึ้นเหนือพื้นดินมีตัวหิ่งห้อยซึ่งมีแสงสว่างอยู่ที่ก้นชอบเกาะอยู่ตามต้นลำพูในตอนกลางคืนตามต้นลำพูจะมีแสงว้อบแว้บระยิบระยับดูเหมือนมีใครนำไฟกระพริบไปประดับไว้จึงเรียกตำบลริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ว่า “บางลำพู”
ปีพ.ศ.2326 มีการขุดคลองคูพระนครเพื่อขยายพื้นที่เขตพระนครให้กว้างขึ้นโดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาจากบริเวณวัดสังเวชวิศยารามไปถึงคลองมหานาคจึงเรียกชื่อคลองตามชื่อบริเวณว่าคลองบางลำพู
คลองบางลำพู
คลองบางลำพูเป็นคลองขุดกว้างและลึกพอสมควรเหตุที่คลองนี้เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงคลองมหานาคน้ำจึงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลามีทำนบกั้นน้ำอยู่ตรงปากคลองก่อนถึงสะพานฮงอุทิศในสมัยก่อนมีเรือขึ้นล่องไปมาค้าขายพวกเขาก็จอดเรียงรายอยู่ตามริมคลอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 คลองบางลำพูเคยเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารครอบพระนครเมื่อพ.ศ.2394 หลังจากนั้นบางลำพูก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองอาศัยคลองบางลำพูเป็นเส้นทางคมนาคมค้าขายสินค้าทางเรือมีสินค้าจากเรือกสวนจำพวกผลไม้สินค้าจากต่างจังหวัดขึ้นล่องมาขายด้วยเรือขนาดต่างๆนอกจากนี้คลองบางลำพูยังเป็นแหล่งจำหน่ายเรือขนาดต่างๆเช่นเรือประทุนเรือสำปั้นและเรือขนาดเล็ก ไม่ห่างจากคลองบางลำพูมากนักยังมีคลองเล็กๆเชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาลัดเลาะข้างวัดชนะสงครามออกไปทางวัดบวรนิเวศฯชื่อคลองรามบุตรีปัจจุบันนี้ถูกถมไปแล้วบ้านที่อยู่ริมคลองรามบุตรีเช่นบ้านเจ้าคุณนิติศาสตร์บ้านคุณหลวงบุณยมานพรวมทั้งโรงแรมเวียงใต้
แหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ
สิ่งที่โดดเด่นของบางลำพูคือเป็นแหล่งที่มีงานช่างฝีมืออันประณีตงดงามทั้งเครื่องทอง เครื่องถม และยังเป็นย่านตลาดสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ แต่วันนี้บางลำพูถูกกลบด้วยธุรกิจการท่องเที่ยวและแหล่งบันเทิงต่างๆ กลายเป็นถิ่นพำนักของชาวต่างชาติ มีที่พักราคาถูก ร้านอาหารหลายระดับหลายราคา รวมทั้งเสียงเพลงและแสงสีที่ทำให้บางลำพูมีชีวิตเคลื่อนไหวเกือบตลอดค่ำคืน
การเปลี่ยนแปลงของแหล่งเศรษฐกิจ
เมื่อสืบอดีตกลับไปพบว่าย่านบางลำพูแห่งนี้เป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ริมน้ำที่มีมาก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ วัดบางลำพูหรือวัดกลางนา หรือวัดสังเวชวิศยาราม และวัดชนะสงคราม ก่อนจะเติบโตเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนพลเมืองหลายหลากชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ มุสลิม ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยคละเคล้ากัน จนทำให้เป็นแหล่งเกิดอาชีพที่หลากหลาย อันเนื่องจากความชำนาญ เช่น ชาวจีนนิยมทำการค้า ชาวมุสลิมมีฝีมือทำทอง ชาวลาวทำเครื่องเงินเครื่องถม เป็นต้น ในช่วงของการสร้างกรุงฯ ตามแม่น้ำคูคลองในแถบบางลำพูมีการค้าทางเรือแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเล็กๆ น้อย ๆ กระทั่งเมื่อมีการขุดคลองรอบกรุง ทำให้เกิดท่าน้ำหลายแห่งที่เป็นแหล่งขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า พืชผักผลไม้จากย่านฝั่งธนฯ ก่อนจะพัฒนากลายเป็นตลาดบกที่สำคัญในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นทางตอนเหนือของพระนคร เกิดการตัดถนนหลายสายในพื้นที่บางลำพูเพื่อรองรับเครือข่ายถนนที่ตัดเชื่อมมาจากพื้นที่สามเสน ได้แก่ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนข้าวสาร ถนนรามบุตรี และถนนสิบสามห้าง ส่งผลให้บางลำพูเติบโตจอแจไปด้วยผู้คน รถราง และการค้าพาณิชย์ ตลาดบางลำพูที่เคยเป็นตลาดขายผลไม้และของสดต่างๆ เพื่อสนองต่อคนในพื้นที่ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และขยายตัวมากขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๕ แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถพัฒนาตลาดได้มากนัก อันเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนในย่านนี้บ่อยครั้ง กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงมีการจัดตั้งตลาดขึ้นมาใหม่ พร้อม ๆ กับการเกิดแหล่งบันเทิงขึ้นในย่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงภาพยนตร์ อย่างโรงหนังปีนัง โรงหนังบุษยพรรณ โรงละครแม่บุนนาค และโรงลิเกคณะหอมหวน ธุรกิจบันเทิงเหล่านี้ส่งผลให้ย่านบางลำพูได้รับความสนใจจากบรรดาพ่อค้านักลงทุนมากยิ่งขึ้น จนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางการค้าและเป็นศูนย์รวมมหรสพแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในระยะเวลานั้น ตลาดสำคัญของย่านบางลำพูซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในอดีต ได้แก่ ตลาดยอด ตลาดนานา ตลาดทุเรียน และสิบสามห้าง
“ตลาดยอด” มีคำคล้องจองเมื่อกล่าวถึงคือ “บางลำพูประตูขาดตลาดยอด” ตั้งอยู่เชิงสะพานนรรัตน์ฝั่งทิศใต้ เป็นตลาดใหญ่และมีความสำคัญของชุมชนบางลำพูในฐานะตลาดประจำชุมชนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนจะถูกปรับปรุงในช่วงรัชกาลที่ ๕ และรุ่งเรืองในช่วงรัชกาลที่ ๗ สินค้าที่นำมาจำหน่าย ได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน มาลัย แป้ง กระแจะ น้ำอบไทย เครื่องหอม ขนมไทยต่างๆ และบุหรี่ไทยประเภทยาใบบัว ยาใบตองอ่อน เป็นต้น (พิเชษฐ์ สายพันธ์ :๒๕๔๒) นอกจากนี้ตลาดยอดยังเป็นแหล่งเครื่องหนัง เสื้อผ้า ร้านอาหารมุสลิม ร้านเครื่องถ้วยชาม และห้างขายทองรูปพรรณต่างๆ ความรุ่งเรืองของตลาดยอดสะดุดลงจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลังจากไฟไหม้ในครั้งนั้นได้มีการสร้างตลาดใหม่ขึ้น แต่เนื่องจากแผงเช่ามีราคาสูงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ค้าสู้ราคาไม่ไหว จึงแยกย้ายกันไป เจ้าของจึงรื้อตลาดแล้วสร้างเป็นห้างสรรพสินค้านิวเวิร์ด ตลาดสดจึงหายไป ชาวบ้านย่านนี้ได้หันไปจับจ่ายซื้ออาหารยังตลาดเช้าบริเวณถนนไกรสีห์ (ข้างนิวเวิร์ด) กับตลาดนรรัตน์ (เชิงสะพานนรรัตน์ด้านทิศใต้) แทน บริเวณตลาดยอดต้องเปลี่ยนโฉมกลายเป็นอาคารจอดรถและห้างสรรพสินค้านิวเวิร์ดที่กำลังถูกรื้อทิ้ง
“ตลาดนานา” ตั้งอยู่ฝั่งเหนือของคลองรอบกรุง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังริมคลองบางลำพู ชื่อของตลาดนานาเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเจ้าของตลาด คือ คุณเล็ก นานา ชาวมุสลิมย่านคลองสาน ตลาดแห่งนี้ขายอาหารการกินและพืชผลทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ และของสดเป็นส่วนมาก ก่อนจะซบเซาลงในราว พ.ศ. ๒๕๒๙ และหายไปในที่สุด ในระยะหลังเจ้าของตลาดได้เปลี่ยนพื้นที่ตลาดให้เป็นโรงแรม เกสท์เฮ้าส์ ตามกระแสนิยม ตลาดนานาจึงเป็นเพียงความทรงจำของคนยุคปู่ย่าที่ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ชื่อและป้ายตลาดเท่านั้น
“ตลาดทุเรียน” ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามคลองรอบกรุง ด้านทิศใต้ของสะพานนรรัตน์ เป็นแหล่งชุมนุมทุเรียนที่พ่อค้าแม่ค้านำมาขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูกาลทุเรียนออกเป็นที่มาของชื่อตลาด นอกจากขายทุเรียนแล้ว พ่อค้าแม่ขายยังนำพืชพันธุ์การเกษตรมาขายเช่นเดียวกับตลาดนานา เช่น ผักผลไม้นานาชนิดที่ชาวสวนบรรทุกเรือมาจอดขาย แต่ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นตลาดขายเสื้อผ้า มุ้ง และของใช้ราคาถูก ก่อนจะกลายเป็นตลาดสดในปัจจุบัน เรียกกันว่า “ตลาดนรรัตน์”
“สิบสามห้าง” ปัจจุบันเป็นชื่อถนนเส้นสั้น ๆ ที่ตั้งขนานกับถนนบวรนิเวศ ชื่อถนนสิบสามห้างนี้มาจากเรือนแถวไม้สองชั้นจำนวน ๑๓ ห้อง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับห้างร้านของชาวจีนในกวางตุ้ง ต่อมาเรือนแถวดังกล่าวถูกรื้อเพื่อสร้างเป็นตึก จึงเหลือไว้เพียงชื่อถนน สินค้าที่ขายในสิบสามห้าง ได้แก่ อาหารจำพวกข้าวแกง อุปกรณ์เย็บเสื้อผ้า ด้าย กระดุม เป็นต้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สิบสามห้างเป็นที่ชุมนุมของวัยรุ่น เพราะมีร้านอาหารเปิดขายจนดึกถึงสามสี่ทุ่ม มีร้านขายไอศกรีมซึ่งเป็นของหากินยากในยุคนั้น อีกทั้งทางร้านยังบริการเปิดโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อบันเทิงที่เพิ่งเข้ามาในเมืองไทยให้ประชาชนดู จึงกลายเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นยุคนั้น และถือกันว่าบางลำพูสมัยนั้นเป็นย่านที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง
ตลาดเช้าเต็มไปด้วยของสดนานาชนิดจนสายตลาดจึงวาย หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นตลาดขายผ้า ขายเสื้อและรองเท้า เครื่องหนังต่าง ๆ เมื่อตลาดแบบเก่าและร้านค้ารุ่นแรกๆ เริ่มซบเซาลง กิจการการค้ารูปแบบใหม่ได้เข้ามาแทนที่และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางกิจการมีฐานเติบโตมาจากกิจการเดิม เช่น ห้างแก้วฟ้า ที่เติบโตจากร้านขายเครื่องหนังซึ่งค้าขายในยุคแรก ๆ ส่วนตลาดขายเสื้อผ้าเริ่มมีประมาณ ๒๐ ปีก่อน โดยพ่อค้าแม่ค้านิยมเอาสินค้ามาลดราคาหน้าร้านหรือเลหลังขาย โดยจับจองพื้นที่ริมถนนเปิดเป็นแผงลอยจำนวนมาก การค้าเสื้อผ้าที่ขึ้นชื่อในย่านบางลำพูแต่ก่อน คือ เสื้อผ้าชุดนักเรียนที่บรรดาผู้ปกครองต้องพากันมาซื้อหาเมื่อถึงฤดูกาลเปิดเรียน ร้านค้าเสื้อนักเรียนเปิดมากแถบถนนไกรสีห์และถนนตานี


ภูมิปัญญาและหัตถศิลป์ของชุมชนบางลำพู






บ้านช่างทอง ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ชุมชนบวรรังสี รับการ ถ่ายทอดฝีมือจากช่างในวัง เป็นแหล่งผลิตทองคำเปลวแห่งแรก ปัจจุบันอาชีพช่างตีทองลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงรักษาไว้ได้ ด้วยความอุตสาหะของลูกหลาน แม้จะผลิตทองคำเปลวคุณภาพ ดีไม่แพ้กันแต่กลับได้ค่าเหนื่อยต่ำกว่า ทว่าทุกคนก็ยังยินดีที่จะ ทำหน้าที่ตีทองและตัดทองด้วยความประณีตและตั้งใจ อย่างไม่ท้อแท้ เพราะถึงอย่างไรอาชีพนี้ก็สร้างรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว และยังหล่อเลี้ยง ความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนบำรุงศาสนาและงานหัตถศิลป์ไทย ให้คงอยู่ต่อไป
เครื่องถมไทย เกิดชุมชนบ้านพานถมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากช่างฝีมือสองสาขา ช่างทำเครื่องเงินและช่างทำเครื่องถม ได้ทั้งทำเครื่องถมไปเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่ต่างประเทศ อีกด้วย
บ้านปักชุดละคร มรดกบนผืนผ้า ณ บ้านปักชุดละคร ชุมชนตรอกเขียน นิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ นำวิชาที่ร่ำเรียนในวังหลวงและรับราชการที่ กรมศิลปากร “ป้าเปี๊ยก” หรือ นางสมคิด หลาวทอง ได้ถ่ายทอด ความงดงามผ่านผืนผ้าให้แก่คนโขน
ศิลปะแทงหยวก กำเนิดจากชาวมอญที่เข้ามาในสยามหลายร้อยปี ในชุมชนวัดใหม่ อมตรส เป็นศิลปะที่ใช้เฉพาะคนชั้นสูงในงานอวมงคล และต้องอาศัยความ ชำนาญอย่างยิ่ง
ปัจจุบัน นายชูชาติ แดงแนวโต สืบทอดอาชีพแทงหยวกกล้วยไว้ได้ และเป็นที่นิยมว่าจ้างไปจัดในงานศพ และศิลปะนี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในช่างสิบหมู่ ของไทย
ร้านทำเครื่องทอง เก่าแก่ที่สุด มีความประณีตงดงาม ถ่ายทอด ลวดลายอ่อนช้อยให้ประทับอยู่บนเครื่องประดับทองคำที่งดงาม ปัจจุบันลูกหลานไม่ได้ทำเครื่องทำสืบต่อ แต่เปลี่ยนมาประกอบ อาชีพทำกรอบพระเครื่องแทน
ร้านลานทอง ถึงแม้ย่านบางลำพูไม่มีต้นลานเพียงสักต้น “ร้านลานทอง” กลับผลิตข้าวของจาก ใบลานได้มากมาย เนื่องจากผู้คนนิยมชมชอบ โดยเฉพาะช่วงจอมพล ป. ที่ระบุให้ทั้งสตรี นั้นก็ต้องสวมใส่เครื่องใช้ที่เป็นใบลานเช่นกัน ปัจจุบันลูกหลานได้ยกเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตที่เก่าแก่ไว้ที่พิพิธบางลำพู

วัดสำคัญที่บางลำพู
บางลำพูถือเป็นย่านสำคัญในด้านเศรษฐกิจการค้า เนื่องจากอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และยังมีความสำคัญทางด้านศาสนาอีกด้วยได้แก่
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
วัดชนะสงครามเป็นวัดโบราณขนาดเล็ก ตั้งอยู่เหนือคลองโรงไหม ริมถนนจักรพงษ์(สะพานเสี้ยว) สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมอยู่กลางทุ่งนา จึงเรียกกันว่า วัดกลางนาเพราะบริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงรวมชาวรามัญและพระสงฆ์ชาวรามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ให้ตั้งหลักฐานอยู่รอบวัดกลางนา และให้ก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดกลางนา เพื่อให้พระสงฆ์รามัญจำพรรษาแล้วตั้งนามใหม่ว่า “วัดตองปุ” โดยลอกเลียนนามวัดและขนบธรรมเนียมของวัดในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี เป็นวัดที่พระสงฆ์รามัญพำนักอยู่ และรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้วัดตองปุเป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เพื่อตอบแทนคุณความดีและเชิดชูเกียรติทหารรามัญในกองทัพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่เป็นกำลังสำคัญในการรบกับพม่า เมื่อบ้านเมืองสงบสุขร้างศึกกับพม่าแล้ว สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้สถาปนาวัดตองปุใหม่หมดทั้งวัด เมื่อสำเร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ พระราชทานนามใหม่ตามเหตุการณ์ หลังจากทำสงครามชนะพม่าถึง 3 ครั้ง คือ พ.ศ.2328 พ.ศ.2329 และ พ.ศ. 2330ว่า “วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร” ตราบเท่าทุกวันนี้
พระอุโบสถวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถมีรูปปั้น
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทประดิษฐานอยู่เพื่อให้ประชาชนมาสักการบูชา
พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม
ภาพถ่ายบริเวณวัดชนะสงครามในปัจจุบัน และโรงเรียนวัดชนะสงคราม (ซ้ายมือสุด)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
เป็นวัดธรรมยุติ เดิมชื่อ “วัดใหม่” ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนพระสุเมรุ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพเป็นแม่กองก่อสร้างในปีพ.ศ.2367-2375 อยู่ติดกับวัดรังษีสุทธาวาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดรังษี ฯ ได้ทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้ากับวัดใหม่ ปัจจุบันวัดรังษีสุธาวาสเดิมคือบริเวณคณะรังษีที่ยังมีอุโบสถและวิหารเดิมของวัดรังษีสุทธาวาสปรากฎอยู่ในปี พ.ศ.2379 รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์พระอนุชาธิราชพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชจำพรรษาอยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิราช) ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง และเชิญเสด็จมาครองวัดนี้ โดยจัดขบวนแห่อย่างกระบวนแห่พระมหาอุปราช และพระราชทานนามวัดว่า “วัดบวรนิเวศวิหาร”
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ด้านถนนสิบสามห้างพระอุโบสถ
วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร
วัดสังเวชวิศยารามวรวิหารเป็นวัดโบราณ ซึ่งมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดสามจีน หรือ วัดบางลำพู ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู ในแขวงบางลำพู เขตพระนครปัจจุบันมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารประวัติการสร้างวัดสังเวชวิชยารามวรวิหารไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่มีตำนานเล่าว่าชาวจีน 3 คน ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น และมีขุมทรัพย์อยู่ใต้ดิน มีปริศนาผูกไว้ให้ผู้มีสติปัญญาคิดตีความ ใครตีความได้ก็จะสามารถรู้แหล่งและเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นทั้งหมด ปริศนาลายแทงดังกล่าวมีความว่า“ตำบลวัดสามจีนมีหินสามก้อน ที่นอนสามอัน มีต้นโศกเอนที่เจ้าเณรนั่งฉัน”ในรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณะปฎิสังขรณ์วัดนี้
พระอุโบสถ วัดสังเวชวิศยาราม
มัสยิดจักรพงษ์
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีชื่อเสียงย่านบางลำพูโดยเฉพาะเรื่องการทำทอง ซึ่งชุมชนนี้ตั้งขึ้นหลังจากที่รัชกาลที่ 5 ทรงสวรรคตโดยการเริ่มต้นของนายตุ้ม ลอประยูร สำหรับชุมชนนี้นั้นเป็นชุมชนของชาวมุสลิม
จึงสรุปได้ว่า
ชุมชนบางลำพูในอดีตเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม ที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในชุมชนของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ทำให้ชุมชนบางลำพูกลายเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ อันเกิดจากการรับเอาวัฒนธรรมจากคนเชื้อชาตินั้นๆ เข้ามารวมกันอย่างกลมกลืน เห็นได้จากการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนมุสลิม และคนไทยในชุมชน การที่ภายในชุมชนมีสถานที่สำคัญของศาสนาต่างๆ เช่น มัสยิดจักรพงษ์ วัดชนะสงคราม รวมไปถึงอาชีพของคนในชุมชนที่มีความต่างกัน อันเป็นงานฝีมือเฉพาะของเชื้อชาติตน เช่น ศิลปะการแทงหยวก เครื่องถม การทำทอง การปักชุดละคร สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าชุมชนบางลพูเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายมาตั้งแต่สมัยอดีตมาอย่างยาวนาน







มัสยิดสำคัญที่บางลำพู

การเปลี่ยนแปลงของชุมชนบางลำพูจากอดีตถึงปัจจุบัน
ชุมชนบางลำพูมีความเปลี่ยนไปจากอดีตในหลายด้านทั้งพื้นที่ ลังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชน
จากการสัมภาษณ์ผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านชุมชนบางลำพูเป็นเวลานาน 3 ท่าน ได้แก่
คุณโอภาส มิตรีมานะ ซึ่งเป็นรองประธานหัวหน้าชุมชนและอยู่ที่ชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของย่านบางลำพูไว้ว่า ในช่วง 30 ปีถึง 40 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในชุมชนย่านบางลำพูทั้งในด้านสภาพแวดล้อม สังคมและความเป็นอยู่ ยกตัวอย่างเช่นมีการตั้งห้างสรรพสินค้าขึ้นหลายแห่งและปิดตัวไปในเวลาต่อมา มีการเปิดสถานบันเทิงขึ้นเป็นจำนวนมากบนถนนข้าวสาร ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยและกระทบถึงชุมชนชาวมุสลิมในพื้นที่ทางด้านศาสนาและกฎเกณฑ์ของชาวมุสลิมในบางข้อจึงทำให้จ้องมีการปรับตัว อีกทั้งยังมีการพูดถึงสถานบันเทิงบนถนนข้าวสารมีแนวโน้มที่จะปิดตัวลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวไม่ได้เป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากนัก ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงไปในช่วงนี้ รวมไปถึงยังกังวลว่าวัฒนธรรมไทยจะเสื่อมหายไป เนื่องจากมีการรับวัฒนธรรมจากชาวต่างชาติมากขึ้นและไม่ได้รักษาวัฒนธรรมไทยไว้ และยังให้ข้อมูลถึงมัสยิดจักรพงษ์ที่ตั้งอยู่ในเกาะจักรพงษ์ ซึ่งตั้งขึ้นในระหว่างสมัยรัชกาลที่ 1 กับรัชกาลที่ 2 มีอายุมากกว่า 100 ปี โดยเป็นเกาะเดียวที่ยังเหลืออยู่เป็นชุมชนบางลำพู
คุณกร แจ้งศรีวงศ์ ซึ่งทำอาชีพค้าขาย โดยเปิดร้านอาหารและอยู่ที่ชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้ให้ข้อมูลว่าชุมชนย่านบางลำพูได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โดยเมื่อ 100 ปีที่แล้วยังไม่มีความเจริญมาก พื้นที่โดยรอบยังเต็มไปด้วยต้นไม้ ถนนเป็นถนนลูกรัง ยังใช้รถเจ๊กและรถม้าอยู่ และมีคลองรามบุตรี ในด้านการค้าขายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไหร่นัก ส่วนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน คุณกรได้ให้ความเห็นว่าทำให้ชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น เพื่อให้ผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงไปได้
คุณปิยวัลย์ แจ้งศรีวงศ์ ซึ่งทำอาชีพค้าขายและอยู่ในชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากในสมัยก่อนมีสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในย่านบางลำพูเป็นจำนวนมากเช่นตึกรัฐสภา ห้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่ในปัจจุบันได้มีการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่างๆ อีกทั้งยังมีการย้ายสถานที่สำคัญของรัฐบาลไปที่อื่นรวมไปถึงการปิดตัวของห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทำให้ย่านบางลำพูไม่เจริญเหมือนในสมัยก่อน
จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นและข้อมูลเราสามารถสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของย่านบางลำพูตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในช่วง 100 ปีที่แล้วยังไม่เจริญมากนักแต่ต่อมามีการนำความเจริญเข้ามายังพื้นที่ชุมชนย่านบางลำพู มีการตั้งห้างสรรพสินค้ารวมไปถึงสถานที่สำคัญของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในพื้นที่ มีการค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์รวมของการค้าขาย มีสินค้าที่หาได้ยากในพื้นที่อื่นเช่น ชุดนักเรียน ร้านตัดสูท ร้านรองเท้า การเป็นแหล่งรวมของความบันเทิงในอดีต เช่น วิกลิเก คณะละคร โรงหนัง เป็นชุมชนที่มีตลาดขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในสมัยหนึ่ง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น ความเจริญและผู้คนจากหลากหลายชาติศาสนาหลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน ส่งผลให้ชุมชนบางลำพูในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปจากการที่เคยเป็นย่านการค้าสำคัญในอดีตก็อาจจะซบเซาลง เพราะด้วยห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ที่มีความทันสมัยมากกว่า สินค้าบางชนิดที่เคยมีขายแค่ที่บางลำพู เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นทำให้หาซื้อได้ในพื้นที่อื่นด้วย ร้านรวงบางร้านปิดตัวไปเมื่อผู้คนในปัจจุบันไม่นิยมใช้สินค้านั้นอีกต่อไป รวมถึงภูมิปัญญาและหัตถศิลป์ของชุมชนบางลำพูที่อาจจะเลือนหายไปในอนาคตข้างหน้าเพราะขาดคนรุ่นใหม่ที่จะสืบทอด
ขณะเดียวกันชุมชนบางลำพู ยังขยายตัวเติบใหญ่เป็นศูนย์รวมของธุรกิจการท่องเที่ยวที่คึกคักและมีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศ เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต้องการจะมาสัมผัส โดยเฉพาะบนถนนข้าวสารที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวแบบแบกเป้ที่ตอบสนองนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกซึ่งต้องการที่พักอาศัยในราคาย่อมเยา และต้องการจะสัมผัสถึงความงามของย่านเก่าในชุมชนบางลำพู

แนวโน้มของชุมชนบางลำพูในอนาคต
ย่านบางลำพูนี้เป็นย่านที่สำคัญของสยาม มาตั้งแต่ต้นยุครัตนโกสินทร์ ริมจากการเป็นชุมชนเล็กๆ มีวัดและสถานที่สำคัญต่างๆ เป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ และประชาชนพลเมืองหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ มุสลิม ที่ตั้งที่อยู่อาศัยคละเคล้ากัน มีอาชีพเกิดขึ้นมากมายจากภูมิปัญญาและความชำนาญต่างๆที่สะสมกันจากรุ่นสู่รุ่นบางลำพูตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีการคมนาคมขนส่งที่ง่ายและสะดวก ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มที่เดินทางกันด้วยคลอง เป็นชุมชนริมน้ำ จนกระทั่งมีการขุดคลองรอบกรุง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า พืชพรรณต่างๆ เป็นตลาดที่สำคัญที่คนในประเทศย่อมต้องรู้จัก เมื่อเกิดการตัดถนน คนเริ่มเปลี่ยนจากการเดินทางทางน้ำขึ้นมาบนบก บางลำพูแห่งนี้ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางเพราะเป็นจุดที่ถนนตัดผ่าน เชื่อมมาจากสามเสน ได้แก่ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนข้าวสาร ถนนรามบุตรี และถนนสิบสามห้าง กลายเป็นจุดที่มีความจอแจของผู้คน รถราง และการค้า
จากการที่ได้ไปสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่ชุมชนย่านบางลำพู3 ท่าน ได้แก่
คุณกร แจ้งศรีวงศ์ ซึ่งทำอาชีพค้าขาย โดยเปิดร้านอาหารและอยู่ที่ชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้ให้ข้อมูลว่าในอดีต-ปัจจุบัน ย่านบางลำพูมาค้าขายที่มากขึ้น ชุมชนแข็งแรงขึ้นและมีการทำมาหากินมากขึ้น และแนวโน้มในอนาคตคุณกรคาดว่าจะคงสภาพความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
คุณปิยวัลย์ แจ้งศรีวงศ์ ซึ่งทำอาชีพค้าขายและอยู่ในชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เมื่อก่อนย่านบางลำพูเจริญกว่านี้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งค้าขายชุดนักเรียนและเสื้อผ้าแต่ปัจจุบันความเจริญได้ห่างไกลออกไปมีห้างเกิดขึ้นมากมายคนส่วนใหญ่นิยมไปซื้อชุดนักเรียนจากห้างมากกว่าและของกินก็เริ่มกระจายไปแหล่งอื่นทำให้คนน้อยลง
คุณโอภาส มิตรีมานะ ซึ่งเป็นรองประธานหัวหน้าชุมชนและอยู่ที่ชุมชนย่านบางลำพูตั้งแต่เกิด ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของย่านบางลำพูไว้ว่า ในช่วง 30 ปีถึง 40 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในชุมชนย่านบางลำพูทั้งในด้านสภาพแวดล้อม สังคมและความเป็นอยู่ กล่าวคือมีการเปิดสถานที่บริการกลางคืนเช่น ผับ บาร์ เป็นต้น บริเวณรอบๆชุมชนบางลำพูเพิ่มมากขึ้น ทำให้กระทบต่อกฎระเบียบของศาสนาอิสลาม
จึงสรุปได้ว่า ชุมชนย่านบางลำพูมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่นี้ ส่งผลให้เกิดสีสันทางวัฒนธรรมต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รวบรวมความหลากหลาย ทั้งกิจกรรม สินค้า วัฒนธรรม แต่ด้วยการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดรวมถึงการเข้ามาของคนกลุ่มใหม่และการเกิดวัฒนธรรมใหม่ตลอดเวลา ทำให้เกิดกาสูญหายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบางส่วน มีการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใหม่ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชนลดลง อาจทำให้ไม่เห็นร่องรอยของวัฒนธรรมดั้งเดิมของย่านบางลำพูให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงการเสื่อมโทรมของพื้นที่และทั้งสถาปัตยกรรมเดิมหากไม่มีการอนุรักษ์หรือสืบทอดต่อไปในภายภาคหน้าของชุมชนย่านบางลำพู ซึ่งเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมเก่าแก่ แหล่งรวมความบันเทิง ซึ่งอาจมีความเสื่อมถอยทางด้านวัฒนธรรม สูญเสียเอกลักษณ์ของพื้นที่นี้ไปจนไม่มีความน่าจดจำ แต่หากยังรักษาไว้ซึ่งความงดงามของขุมทรัพย์ที่มีอยู่นี้ให้สืบต่อไป พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ ก็จะยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายวัฒนธรรม ที่มารวมอยู่ในที่เดียวกันได้ ด้วยวิถีของการสังสรรค์และอยู่ร่วมกันได้ด้วยเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันต่อไป
บรรณานุกรม
ปราณี กล่ำส้ม .(2549). ย่านเก่าในกรุงเทพ(เล่ม 1).กรุงเทพมหานคร.ด่านสุทธากร
กิตติศักดิ์ พานเจริญชับโรจน์, ปราณี กล่ำส้ม. (2544) . ชุมชนบางลำพู.
สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/ratanagosin/community11.htm
ปิลันธน์ ไทยสรวง. (6 เมษายน 2559). บางลำพูในความทรงจำ จากย่านตลาดเก่าสู่สวรรค์ราคาถูกของนักท่องเที่ยว.
สืบค้นจาก http://lek-prapai.org/home/view.php?id=662
พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. (31 ต.ค. 2010). สิบสามห้าง ถนนข้าวสาร และคลองรามบุตรี.
สืบค้นจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3559.0
ปานทิพย์ ลิกขะไชย. (5 เมษายน 2013). “เสน่ห์บางลำพู” ศิลปวัฒนธรรม ณ ชุมชน บางลำพู.
สืบค้นจาก http://travel.mthai.com/news/50950.html
อภิญญา นนท์นาค. (๒๕๕๕). วันวานที่ย่านบางลำพู.
สืบค้นจาก http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=742
จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ. (๒๕๕๐). วัฒนธรรมไทย.
สืบค้นจาก http://www.baanjomyut.com/library/social_sciences/34.html
อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ). (๒๕๕๑). การจัดการทางวัฒนธรรม : ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
จัดทำโดย
1. นางสาวกนกวรรณ ยศศรีใจ 5910751361
2. นางสาวคณิตา บุญมี 5910751450
3. นางสาวณฐมน อุทัยรังษี 5910751697
4. นางสาวณัฏฐา ศรีจินดาวรรณ 5910751743
5. นายตะวันไท ดลราษี 5910751867
6. นายแทนมิตร อุดมเจริญศิลป์ 5910751891
7. นายธนบัตร ใจห้าว 5910751930
8. นายนนท์นภัส ขอดทอง 5910752014
9. นางสาวนัฐติยา ทองสง 5910752057
10. นายนัธทวัฒน์ ลิมาชาน 5910752065
11. นางสาวประภาพร นาวาทอง 5910752146
12. นางสาวฟารีดา เจ๊ะหลี 5910752367
13. นางสาวอรวี ศรีพุ่ม 5910752995
นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์